วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Protein Adsorption


การดูดซึมของโปรตีน(Protein Adsorption)

    การดูดซึมกรดอะมิโนในทางเดินอาหารส่วนใหญ่เกิดขึ้นในลำไส้เล็กส่วนต้นและส่วนกลาง โดยปกติอัตราการดูดซึมของกรดอะมิโนจะเร็วกว่าอัตราการย่อยโปรตีน ดังนั้นไม่พบกรดอะมิโนหลงเหลือในโพรงทางเดินอาหาร กรดอะมิโนที่มีโครงสร้างในรูป L-isomer  จะดูดซึม ได้เร็วกว่าในรูป D-isomer 

             กรดอะมิโนชนิดต่างๆ ถูกดูดซึมเข้ามาในเซลล์โดยอาศัยตัวพาบนผนังบรัชบอร์เดอร์และจะขนส่งออกจากเซลล์ผ่านผนังด้านล่างและด้านข้างโดยอาศัย ตัวพาของกรดอะมิโนหลายชนิด เช่นกัน
-ตัวพาบนผนังบรัชบอร์เดอร์จำแนกได้ 7 ระบบ 
-ตัวพาบนผนังด้านล่างและด้านข้างของเซลล์ดูดซึม
 มี 5 ระบบ 





การดูดซึมโมเลกุลโปรตีน
การดูดซึมโมเลกุลโปรตีนในเด็กแรกเกิด 2-3 สัปดาห์หลังคลอด ลำไส้เล็กสามารถดูดซึมโมเลกุลโปรตีน
ได้ เนื่องจากกระบวนการย่อยโปรตีนด้วยเอนไซม์จากกระเพาะอาหาร ตับอ่อน และลำไส้เล็กทำงานได้น้อยมาก 
โดยปกติแล้วการดูดซึมโปรตีนที่เป็นแอนติเจนโดยเฉพาะโปรตีนจากแบคทีเรียและไวรัสจะเกิดขึ้นในบริเวณ M cell ซึ่งเป็นเซลล์เยื่อบุพิเศษชนิดหนึ่งของลำไส้ โดยเซลล์เอ็มปกคลุมอยู่เหนือกลุ่มเซลล์เม็ดเลือดขาวบริเวณ peyers patch

เซลล์เอ็มจะดูดซึมเอาแอนติเจนเข้ามาโดยวิธีเอนโดไซโทซิสจะไปกระตุ้นเซลล์ลิมโฟบลาสต์ให้เคลื่อน
ที่มาที่ชั้นเยื่อเมือกของลำไส้ ลิมโฟบลาสต์สามารถหลั่ง IgA เมื่อร่างกายได้รับแอนติเจนชนิดเดิมเข้ามาใหม่ เป็นกลไกของร่างกายที่จะป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย 
      ความสามารถในการดูดซึมโมเลกุลโปรตีนจะลดลงตามอายุ 
เรียกว่า การหยุดยั้งการดูดซึมโมเลกุลโปรตีน

สำหรับกรดอะมิโนที่ดูดซึมผ่านเซลล์จะเข้าสู่ตับ 
- ถูกนำไปใช้ในกระบวนการสร้างและสลายสารต่างๆ เช่น 
  นำไปสร้างโปรตีนและเอนไซม์
- นำไปสร้างโปรตีนที่ใช้ภายนอกเซลล์ตับโดยจะมีการหลั่งเข้า
  ไปในกระแสเลือด เช่น อัลบูมิน และโกลบูลิน เป็นต้น 
-  นำไปสร้างโปรตีนเพื่อการซ่อมแซมหรือเพื่อการทำงานของเซลล์ 
- นำไปสร้างฮอร์โมนต่างๆ เพื่อการควบคุมการทำงานของ
   เนื้อเยื่อต่างๆ ภายในร่างกาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น